คำถามที่พบบ่อย
ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถไปที่ศาลตามหมายนัดได้ จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- มอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปแทน หรือ
- ขอให้กองทุนถอนฟ้อง โดยการชำระหนี้ปิดบัญชีและชำระค่าทนายความ และส่งเอกสารการชำระหนี้ และค่าทนายความเพื่อให้กองทุนถอนฟ้อง ทั้งนี้ การติดต่อ กยศ.จะต้องดำเนินการก่อนถึงวันที่ศาลนัดไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องแจ้งการเสียชีวิตของผู้กู้ยืมทันทีที่ทราบ ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่แจ้ง พร้อมแนบหลักฐานดังนี้
- สำเนาใบมรณะบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ประทับตราว่า “ตาย”)
-
สำเนาบัตรประชาชนผู้กู้ยืม (ถ้ามี)
*สำเนาเอกสารทุกฉบับ ต้องรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้ที่แจ้ง และนำส่งผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม (บมจ.ธนาคารกรุงไทย และ/หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)
**โดยกองทุนฯจะได้ทำการตรวจสอบและพิจารณา
ระงับหนี้ เฉพาะในส่วนที่มีการโอนเงินให้กับผู้กู้ยืมก่อนที่จะเสียชีวิต แต่หากเป็นกรณีที่มีเงินโอนให้กับผู้กู้ยืมหลังจากวันที่ผู้กู้ยืมเสียชีวิต ทายาท/ผู้ปกครอง/ผู้ค้ำประกัน มีหน้าที่ที่จะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่กองทุนฯ ต่อไป
กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินมียอดค้างชำระ ผู้กู้ยืมเงินมีหน้าที่ต้องชำระยอดค้างด้วยตนเอง เนื่องจากกองทุนอาจนำเงินที่ค้างชำระมารวมเพื่อแจ้งให้นายจ้างหักเงินเดือน
ขอเรียนว่า กองทุนมีวัตถุประสงค์สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรี เป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมที่กองทุนกำหนด ซึ่งนักเรียน/นักศึกษาที่จะกู้ยืมเงินดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎ ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กองทุนกำหนด
ทั้งนี้ ขอให้ศึกษาข้อมูลการกู้ยืมเงินลักษณะต่างๆจากเว็บไซต์ของกองทุน ที่ https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1595218254
ผู้ที่ทำสัญญาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความก่อนฟ้อง แต่มีหมายศาลไปที่บ้าน ขอให้ผู้กู้ยืมติดต่อ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 0 2261 3811 เพื่อส่งสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้กับกองทุน พร้อมรายละเอียดชื่อ สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน (ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและลงนามรับรองความถูกต้องของเอกสารด้วย) ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ โดยบริษัทฯ จะตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการถอนฟ้องให้ต่อไป สำหรับการถอนฟ้องกรณีดังกล่าว ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระเงินค่าทนายความแต่อย่างใด
- กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
- กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
- กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปีทุกระดับการศึกษา กำหนดจำนวนไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง
นักเรียน นักศึกษา สามารถดาวน์โหลดขั้นตอนการกู้ยืมได้ตามลิงค์นี้ https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1546921466
กองทุนจะระงับการเรียกให้ชำระหนี้ กรณีที่ผู้กู้ยืมเงินพิการหรือทุพพลภาพ จนไม่สามารถประกอบการงานได้ โดยผู้กู้ยืมต้องแจ้งเรื่องขอระงับการเรียกให้ชำระหนี้ให้กองทุนพิจารณาตามหลักเกณฑ์
ผู้กู้ยืมต้องไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นผู้พิการหรือไม่ ถ้าได้รับมาแล้วให้นำใบรับรองแพทย์ไปทำบัตรคนพิการ หากอยู่ต่างจังหวัดให้ไปที่สำนักงานพัฒนาสังคมประจำจังหวัดที่ผู้กู้ยืมอยู่
ยื่นแบบฟอร์มหนังสือรับรองความสามารถการประกอบการงานของผู้พิการหรือทุพพลภาพ (กยศ.207) พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ หนังสือรับรองแพทย์ที่เป็นปัจจุบัน โดยโรงพยาบาลระบุอาการความพิการโดยละเอียด
ผู้กู้ต้องชำระยอดหนี้ให้เป็นปัจจุบัน และยอดหนี้ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือตามสัญญาไกล่เกลี่ย
- กรอกข้อมูลแจ้งความประสงค์ในแบบฟอร์ม กยศ.108 ดาวน์โหลดจาก Web site กองทุน
- สำเนาบัตรประชาชน (ลงรายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยหน้าแรก (ลงรายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)
ส่งเอกสารไปที่ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ เบอร์แฟกซ์ 0 2256 8198 ยืนยันแฟกซ์ โทร. 0 2208 8699
หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ เลขที่ 10 อาคารสุขุมวิท ชั้น 14 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม.10110
การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยสถานศึกษา
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก
การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้
สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ
กรณีที่2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ดังนั้น เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ.204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิกค่ะ
ปล. ปัจจุบันระบบเป็นแบบนี้ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการหารือให้สามารถรายงานได้ก่อนระยะเวลาเตือน 365 วัน
ลำดับการหักเงิน
1. หักภาษี ณ ที่จ่าย
2. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประกันสังคม/กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
3. เงินกู้ยืมกองทุน
หน่วยงาน (นายจ้าง) จะเริ่มมีหน้าที่หักและนำส่งเงินกู้ยืมคืนกองทุน ตั้งแต่ได้รับการแจ้งอย่างเป็นทางการจากทางกองทุน โดยกองทุนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน (หน่วยงาน)
ไม่ได้ ผู้ที่จะมีสิทธิกู้ยืมจะต้องมีสถานะศึกษาอยู่เท่านั้น
การขอลดจำนวนเงินงวดที่แจ้งหักเงินเดือนไม่ได้เป็นการลดจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระเงินคืนกองทุนผู้กู้ยืมเงินยังมีหน้าที่ต้องไปชำระเงินในส่วนต่างที่ขาดไปของงวดนั้น ให้ครบตามจำนวนที่ต้องชำระก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้รายปีหรือรายเดือน
สามารถเข้าใช้งานระบบ e-PaySLF ผ่านลิงก์การใช้งานนี้ คลิก https://epayslf.studentloan.or.th/