คำถามที่พบบ่อย - การฟ้องคดี
ผู้ที่ทำสัญญาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความก่อนฟ้อง แต่มีหมายศาลไปที่บ้าน ขอให้ผู้กู้ยืมติดต่อ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 0 2261 3811 เพื่อส่งสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้กับกองทุน พร้อมรายละเอียดชื่อ สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน (ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและลงนามรับรองความถูกต้องของเอกสารด้วย) ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ โดยบริษัทฯ จะตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการถอนฟ้องให้ต่อไป สำหรับการถอนฟ้องกรณีดังกล่าว ผู้กู้ยืมไม่ต้องชำระเงินค่าทนายความแต่อย่างใด
แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดี
กรณีที่ 1 หากผู้กู้ยืมประสงค์ให้ถอนฟ้อง
ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กองทุนพิจารณาถอนฟ้อง
01.ชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมค่าทนาย ดังนี้
1. ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
2. ชำระค่าทนายความ 5,500 บาท ก่อนวันที่ศาลนัด 2 สัปดาห์ที่ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น
โดยชำระผ่านระบบ Teller Payment (กยศ. code : 9067) (กรอ. code : 92707)
02.ส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ ดังนี้
1. ใบเสร็จการชำระหนี้ปิดบัญชี กยศ. หรือ กรอ.
2. ใบเสร็จการชำระค่าทนายความ
“ผู้กู้ กยศ.” ส่งให้แก่ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด
Fax: 0 2261 3811 โทรศัพท์ 0 2261 3739 ต่อ 8778
“ผู้กู้ กรอ.” ส่งให้แก่ ฝ่ายคดีและบังคับคดี กยศ. ระบุ “ขอให้ถอนฟ้อง กรอ. หรือผู้กู้ยืมกลุ่มไกล่เกลี่ย”
Fax: 0 2016 4940 โทรศัพท์ 0 2016 4888 ต่อ 550 – 587
กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องไปศาล
01.เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไปตามที่ศาลนัดหมาย สามารถขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี
02.กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ไปตามที่ศาลนัด "ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน"
โดยจะส่งคำบังคับแจ้งให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล
ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถไปที่ศาลตามหมายนัดได้ จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- มอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปแทน หรือ
- ขอให้กองทุนถอนฟ้อง โดยการชำระหนี้ปิดบัญชีและชำระค่าทนายความ และส่งเอกสารการชำระหนี้ และค่าทนายความเพื่อให้กองทุนถอนฟ้อง ทั้งนี้ การติดต่อ กยศ.จะต้องดำเนินการก่อนถึงวันที่ศาลนัดไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
- ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่จบปริญญาตรี แต่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมส่งหลักฐานการศึกษาว่าผู้กู้ยืมมีการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่มีการเลิกศึกษา และแจ้งให้กองทุนและบมจ.ธนาคารกรุงไทยทราบเพื่อปรับปรุงข้อมูลออกจากกลุ่มผู้ถูกดำเนินคดี
-
ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่จบปริญญาตรี แต่ได้รับหมายศาล ให้ผู้กู้ยืมส่งหลักฐานการศึกษาว่าผู้กู้ยืมมีการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่มีการเลิกศึกษา และแจ้งให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทราบเพื่อถอนฟ้อง
ผู้กู้ยืมจะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อให้กองทุน และ/หรือ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สามารถดำเนินการได้ทัน มิให้พ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม / พ้นกำหนดที่ศาลนัด
- กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจถูกดำเนินคดี
- บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินการฟ้องคดีกับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)
- เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม
- ศาลพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น
หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน และจะทำการยึดทรัพย์ตามกฎหมายต่อไป
ผู้กู้ต้องชำระยอดหนี้ให้เป็นปัจจุบัน และยอดหนี้ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือตามสัญญาไกล่เกลี่ย
- กรอกข้อมูลแจ้งความประสงค์ในแบบฟอร์ม กยศ.108 ดาวน์โหลดจาก Web site กองทุน
- สำเนาบัตรประชาชน (ลงรายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทยหน้าแรก (ลงรายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)
ส่งเอกสารไปที่ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่ เบอร์แฟกซ์ 0 2256 8198 ยืนยันแฟกซ์ โทร. 0 2208 8699
หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ เลขที่ 10 อาคารสุขุมวิท ชั้น 14 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม.10110
กรณีที่ผู้กู้ยืมได้รับคำบังคับจากศาล เนื่องจากผู้กู้ยืมไม่ได้ชำระหนี้จนถูกดำเนินคดีต่อศาล และไม่ได้ไปตามที่ศาลนัด ทำให้ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ผิดนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งซึ่งรวมถึงค่าทนายความด้วย (โดยชำระหนี้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา)
ผู้กู้ยืมไม่มีเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาครั้งเดียวได้ ประสงค์จะผ่อนชำระ สามารถทำได้ตามความประสงค์ ในระหว่างที่กองทุนฯ ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับคดี แต่หากกองทุนดำเนินการบังคับคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ผู้กู้ยืมต้องรับสภาพการบังคับคดีนั้นตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา