Secondary

Languages

คำถามที่พบบ่อย - การกู้ยืม

กองทุนได้กำหนดคุณสมบัติให้ผู้กู้ต้องทำกิจกรรมจิตสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในระหว่างปีการศึกษา เพื่อขอกู้ยืมเงินในปีการศึกษาถัดไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขัดเกลาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละและมีจิตสาธารณะ โดยกำหนดชั่วโมงสำหรับผู้ขอกู้ยืมเงินแต่ละกลุ่ม ดังนี้
  1. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
  2. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา ไม่กำหนดจำนวนชั่วโมง
  3. กรณีเป็นผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปีทุกระดับการศึกษา กำหนดจำนวนไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง
  • กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ... คลิก
  • หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect"  หรือช่องทางเว็บไซต์  https://wsa.dsl.studentloan.or.th ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล [email protected]

 

นักเรียน นักศึกษาต้องตรวจสอบสถานะการกู้ยืมของตนเองก่อน ซึ่งหากสถานศึกษาเดิมยังไม่ได้ดำเนินการขั้นตอนต่างๆในระบบ นักเรียน นักศึกษาสามารถยกเลิกได้ด้วยตนเอง แต่หากได้ดำเนินการแล้วให้เร่งแจ้งกับสถานศึกษายกเลิกการกู้ยืมเงินของตนเองโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถยื่นขอกู้ยืมเงินกับสถานศึกษาใหม่ ได้ภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนด 

กองทุนกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการโอนเงินกู้ยืม ดังต่อไปนี้

 

*กรณีผู้กู้ยืมเงิน /สถานศึกษา ไม่ได้รับเงินให้ติดต่อธนาคาร

นักเรียน นักศึกษา สามารถดาวน์โหลดขั้นตอนการกู้ยืมได้ตามลิงค์นี้ https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1546921466

1. กรณีมีรายได้ประจำ ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ
 
2. กรณีไม่มีรายได้ประจำ ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 102 
- การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ
- สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น

การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ

ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินของตนเองได้ ดังนี้

1. เว็บไซต์ของกองทุน ตรวจสอบยอดหนี้  https://wsa.dsl.studentloan.or.th/

2. ช่องทางออนไลน์ Mobile Application "กยศ. Connect" 

แนวทางการโอนเงินค่าเทอม-ค่าครองชีพ กยศ. ปีการศึกษา 1/2564

ในปีการศึกษา 2564 สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรุนแรงมากขึ้น สถานศึกษาจึงเลื่อนการเปิดภาคเรียนและปรับรูปแบบการเรียนเป็นออนไลน์ กองทุนจึงได้ปรับกำหนดการให้สอดคล้องกับสถานศึกษา โดยขยายเวลาจากเดิมเดือนเมษายนเป็นเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้กำหนดการโอนเงินกู้ยืมมีการปรับเลื่อนตามมา รวมถึงคณะรัฐมนตรีได้มีมติการปรับลดค่าเทอมให้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืม ทำให้กองทุนต้องปรับกระบวนการกู้ยืมเงินในระบบ DSLของระดับอุดมศึกษา เพื่อให้รองรับการบันทึกค่าเล่าเรียนจริงที่ได้รับการปรับลดตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับนักศึกษาผู้กู้ยืม ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา 

1. การโอนเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา

กองทุนจะโอนเงินเข้าบัญชีของสถานศึกษา ภายหลังจากธนาคารได้รับสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมว่าถูกต้องครบถ้วน ตรงกับข้อมูลที่ธนาคารได้รับจากระบบ DSL โดยจะโอนทุกวันที่ 5, 15 และ 25 ของเดือน

2. การโอนเงินค่าครองชีพเดือนที่ 1 ให้แก่ผู้กู้ยืม

กองทุนจะโอนเงินค่าครองชีพเดือนแรกให้แก่ผู้กู้ยืมภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานศึกษาทำการตรวจสอบยืนยันข้อมูลและแนบเอกสารการกู้ยืมของผู้กู้ยืมในระบบ DSL เรียบร้อยแล้วและสถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมที่ถูกต้องและครบถ้วนให้ธนาคารโดยเร็ว

หากธนาคารไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืมดังกล่าวภายใน 30 วัน กองทุนจะหยุดการโอนเงินครองชีพของผู้กู้ยืมในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป

3. กรณียังไม่ได้รับการโอนเงินค่าครองชีพเดือนที่ 2 และค่าเล่าเรียน เกิดจากสาเหตุ ดังนี้

        3.1 ธนาคารตรวจเอกสารการกู้ยืมแล้วพบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน เช่น ผู้กู้ยืมเงินลงลายมือชื่อแทนบิดา มารดา , แนบไฟล์ที่มีข้อความ/เนื้อหา ขาดหายบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามฟอร์ม , พยานมิได้ลงนามในสัญญา เป็นต้น โดยทางธนาคารจะแจ้งข้อมูลกลับทางอีเมลไปยังสถานศึกษาให้ได้รับทราบ และสถานศึกษาจะต้องแจ้งให้ผู้กู้ยืมแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องแล้วส่งให้ธนาคารโดยเร็ว เมื่อธนาคารตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารเรียบร้อยแล้ว ผู้กู้ยืมจึงจะได้รับโอนเงินค่าครองชีพในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป

        3.2 ธนาคารยังไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืม หรืออยู่ระหว่างการตรวจเอกสารการกู้ยืม

        3.3 สถานศึกษายังมิได้จัดส่งเอกสารการกู้ยืมให้ธนาคาร

       

ขอเรียนว่า กองทุนมีวัตถุประสงค์สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรี เป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมที่กองทุนกำหนด ซึ่งนักเรียน/นักศึกษาที่จะกู้ยืมเงินดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎ ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กองทุนกำหนด

ทั้งนี้ ขอให้ศึกษาข้อมูลการกู้ยืมเงินลักษณะต่างๆจากเว็บไซต์ของกองทุน ที่  https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1595218254

ผู้กู้ต้องไปติดต่อสถานศึกษาที่เคยยื่นกู้ให้ดำเนินการยกเลิกสัญญา 

  1. ขอแบบฟอร์มการยกเลิกสัญญา และแบบยืนยันการลงทะเบียน จากสถานศึกษา
  2. ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้กู้ยืม เซ็นชื่อในเอกสาร
  3. นำแบบฟอร์มการคืนเงินจากสถานศึกษาไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยเพื่อชำระยอดปิดบัญชี
  4. เขียนคำร้อง แจ้งรายละเอียดเหตุผลในการยกเลิกสถานะการกู้ยืม
    หมายเหตุ ส่งสำเนาใบเสร็จการชำระเงินพร้อมเอกสารข้างต้น  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ เบอร์แฟกซ์ 0 2256 8198 ยืนยันการส่งแฟกซ์ โทร. 0 2208 8699

การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยสถานศึกษา

สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก 

 

การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้

สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ

กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน 

ดังนั้น  เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ. 204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา 365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิกค่ะ

การส่งรายงานสถานภาพ กยศ.204 
หากผู้กู้ยืมเงินประสงค์รายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204)  ผู้กู้ยืมเงินสามารถจัดส่งเอกสารดังกล่าว ไปที่ธนาคารที่ผู้กู้ยืมเงินเปิดบัญชีรับโอนเงินค่าครองชีพ (ธนาคารกรุงไทย และ/หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) โดยการส่งไปรษณีย์ไปที่สำนักงานใหญ่   
 
1. บมจ.ธนาคารกรุงไทย  ฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ
อาคารสาขาถนนศรีอยุธยา
ชั้น 8 เลขที่ 513 ถนนศรีอยุธยา
แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400
 
2. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  ฝ่ายนโยบายรัฐ
เลขที่ 66 อาคารนวม ชั้น 20 ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
 
ทั้งนี้ การรายงานสถานภาพด้วยตนเอง (กยศ. 204) ผู้กู้ยืมเงินจะต้องไม่มียอดค้างชำระ

 

แบบรายงานสถานภาพ กยศ.204

สถานศึกษามีหน้าที่ต้องรายงานการพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา ในระบบDSLภายใน 15 วันนับแต่วันที่พ้นสภาพ พร้อมทั้งระบุสาเหตุการพ้นสภาพของนักเรียน นักศึกษา

 ไม่สามารถดำเนินการได้ ผู้กู้ยืมจะต้องยื่นขอกู้ยืมเงินผ่านระบบ DSL ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 เป็นต้นไป

การเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนก่อน กองทุนฯ ถือเป็นการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ทั้งนี้ อาจจะเป็นปัญหาให้กับนักเรียน นักศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการจึงมีหนังสือขอความร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังสถานศึกษาในสังกัดแล้ว