คำถามที่พบบ่อย
ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบยอดหนี้ได้ 2 วิธี คือ
-
ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ ...คลิก
ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินของตนเองได้ ดังนี้
1. เว็บไซต์ของกองทุน ตรวจสอบยอดหนี้ https://wsa.dsl.studentloan.or.th/
2. ช่องทางออนไลน์ Mobile Application "กยศ. Connect"
- ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
- ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
- การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
- หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
- ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
หมายเหตุ
(ก)ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
(ข)กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
- กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ ... คลิก
- หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect" หรือช่องทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล [email protected]
การติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายบริหารหนี้ 2
เลขที่ 89 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ ชั้น 5-6
ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 02 080 5099
อีเมล : [email protected]
LINE : กยศ.หักเงินเดือน คลิกลิงก์ https://lin.ee/oecrHbM
กยศ.องค์กรนายจ้าง คลิกลิงก์ https://lin.ee/Hwg0DCW
กยศ.หักเงินเดือน | กยศ.องค์กรนายจ้าง |
การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยสถานศึกษา
สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี หรือจบการศึกษา สถานศึกษาต้องรายงานสถานภาพ ตามจริง โดยระบบจะมีให้สถานศึกษารายงาน เช่น ศึกษาต่อในสถานศึกษานั้นๆ ผู้กู้ยืมรายเก่าเลื่อนชั้นปีที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินในสถานศึกษาปัจจุบัน สำเร็จการศึกษา ลาออก ให้ออก
การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้
สำหรับผู้กู้ที่ต้องรายงานจะเกิดจาก กรณีดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้กู้ยืมเงินมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี เช่น ย้ายสถานศึกษา หรือ ไม่กู้ยืมเงินต่อ
กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมเงินที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน
ดังนั้น เพื่อรักษาสถานภาพการศึกษา ว่า “กำลังศึกษาอยู่” ระบบDSLจะแจ้งเตือน ให้ผู้กู้มารายงานสถานภาพ เมื่อพบว่าไม่มีการรายงานสถานภาพมาแล้ว 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานสถานภาพครั้งล่าสุด โดยจะแจ้งเตือนผ่าน Email และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานภาพ โดยระบบจะมีให้ดาวน์โหลด กยศ. 204 เพื่อรายงานและลงนามรับรองโดยสถานศึกษาปัจจุบัน และสแกนข้อมูลเข้ามาในระบบ หากยังไม่ถึงระยะเวลา 365 วัน ฟังก์ชันการรายงานสถานภาพจะไม่ขึ้นค่ะ ดังนั้น ผู้กู้ยืมเงินยังไม่ต้องดำเนินการใดๆเพราะรายงานสถานภาพจะไม่มีปุ่มแจ้งเตือน ให้คลิกค่ะ
แบบรายงานสถานภาพ กยศ.204
แนวทางการโอนเงินค่าเทอม-ค่าครองชีพ กยศ. ปีการศึกษา 1/2564
ในปีการศึกษา 2564 สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความรุนแรงมากขึ้น สถานศึกษาจึงเลื่อนการเปิดภาคเรียนและปรับรูปแบบการเรียนเป็นออนไลน์ กองทุนจึงได้ปรับกำหนดการให้สอดคล้องกับสถานศึกษา โดยขยายเวลาจากเดิมเดือนเมษายนเป็นเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้กำหนดการโอนเงินกู้ยืมมีการปรับเลื่อนตามมา รวมถึงคณะรัฐมนตรีได้มีมติการปรับลดค่าเทอมให้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืม ทำให้กองทุนต้องปรับกระบวนการกู้ยืมเงินในระบบ DSLของระดับอุดมศึกษา เพื่อให้รองรับการบันทึกค่าเล่าเรียนจริงที่ได้รับการปรับลดตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับนักศึกษาผู้กู้ยืม ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
1. การโอนเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา
กองทุนจะโอนเงินเข้าบัญชีของสถานศึกษา ภายหลังจากธนาคารได้รับสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืมว่าถูกต้องครบถ้วน ตรงกับข้อมูลที่ธนาคารได้รับจากระบบ DSL โดยจะโอนทุกวันที่ 5, 15 และ 25 ของเดือน
2. การโอนเงินค่าครองชีพเดือนที่ 1 ให้แก่ผู้กู้ยืม
กองทุนจะโอนเงินค่าครองชีพเดือนแรกให้แก่ผู้กู้ยืมภายใน 30 วัน นับจากวันที่สถานศึกษาทำการตรวจสอบยืนยันข้อมูลและแนบเอกสารการกู้ยืมของผู้กู้ยืมในระบบ DSL เรียบร้อยแล้วและสถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารการกู้ยืมที่ถูกต้องและครบถ้วนให้ธนาคารโดยเร็ว
หากธนาคารไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืมดังกล่าวภายใน 30 วัน กองทุนจะหยุดการโอนเงินครองชีพของผู้กู้ยืมในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป
3. กรณียังไม่ได้รับการโอนเงินค่าครองชีพเดือนที่ 2 และค่าเล่าเรียน เกิดจากสาเหตุ ดังนี้
3.1 ธนาคารตรวจเอกสารการกู้ยืมแล้วพบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน เช่น ผู้กู้ยืมเงินลงลายมือชื่อแทนบิดา มารดา , แนบไฟล์ที่มีข้อความ/เนื้อหา ขาดหายบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามฟอร์ม , พยานมิได้ลงนามในสัญญา เป็นต้น โดยทางธนาคารจะแจ้งข้อมูลกลับทางอีเมลไปยังสถานศึกษาให้ได้รับทราบ และสถานศึกษาจะต้องแจ้งให้ผู้กู้ยืมแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องแล้วส่งให้ธนาคารโดยเร็ว เมื่อธนาคารตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารเรียบร้อยแล้ว ผู้กู้ยืมจึงจะได้รับโอนเงินค่าครองชีพในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป
3.2 ธนาคารยังไม่ได้รับเอกสารการกู้ยืม หรืออยู่ระหว่างการตรวจเอกสารการกู้ยืม
3.3 สถานศึกษายังมิได้จัดส่งเอกสารการกู้ยืมให้ธนาคาร
การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ
กรณีที่ผู้กู้ยืมได้รับคำบังคับจากศาล เนื่องจากผู้กู้ยืมไม่ได้ชำระหนี้จนถูกดำเนินคดีต่อศาล และไม่ได้ไปตามที่ศาลนัด ทำให้ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ผิดนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งซึ่งรวมถึงค่าทนายความด้วย (โดยชำระหนี้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา)
สามารถทำได้ โดยแบ่งชำระให้แล้วเสร็จก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้ประจำปี ที่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย / ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ทุกสาขา ซึ่งยอดที่แบ่งชำระรวมแล้วเงินต้นจะต้องไม่น้อยกว่ายอดที่กำหนดให้ในแต่ละปี
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล (เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ที่อยู่) ผู้กู้ยืมสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect (ยกเว้น หมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้ในแอปพลิเคชัน กยศ. Connect) หรือ ทำหนังสือแจ้งมายังกองทุนโดยใช้แบบฟอร์ม กยศ. 108
ผู้กู้ต้องไปติดต่อสถานศึกษาที่เคยยื่นกู้ให้ดำเนินการยกเลิกสัญญา
- ขอแบบฟอร์มการยกเลิกสัญญา และแบบยืนยันการลงทะเบียน จากสถานศึกษา
- ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้กู้ยืม เซ็นชื่อในเอกสาร
- นำแบบฟอร์มการคืนเงินจากสถานศึกษาไปชำระเงินที่ธนาคารกรุงไทยเพื่อชำระยอดปิดบัญชี
-
เขียนคำร้อง แจ้งรายละเอียดเหตุผลในการยกเลิกสถานะการกู้ยืม
หมายเหตุ ส่งสำเนาใบเสร็จการชำระเงินพร้อมเอกสารข้างต้น ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ เบอร์แฟกซ์ 0 2256 8198 ยืนยันการส่งแฟกซ์ โทร. 0 2208 8699
ผู้กู้ยืมจะต้องยกเลิกแบบคำขอกู้ยืมผ่านระบบออนไลน์ก่อน จึงจะยื่นขอกู้ยืมใหม่ได้ แต่ถ้าสถานศึกษานั้นๆ มีการบันทึกกรอบวงเงินและอนุมัติสัญญาแล้ว สถานศึกษาเก่าต้องยกเลิกสัญญากู้ยืมผ่านระบบ e-Studentloan และส่งแบบยกเลิกสัญญาให้กับธนาคารในปีนั้นๆ แล้ว จึงสามารถขอยื่นกู้ยืม ณ สถานศึกษาแห่งใหม่ โดยไม่เสียสิทธิการกู้ในปีนั้น
แนวปฏิบัติสำหรับผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดี
กรณีที่ 1 หากผู้กู้ยืมประสงค์ให้ถอนฟ้อง
ผู้กู้ยืมต้องชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมจ่ายค่าทนาย และส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชีให้กองทุนพิจารณาถอนฟ้อง
01.ชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมค่าทนาย ดังนี้
1. ชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
2. ชำระค่าทนายความ 5,500 บาท ก่อนวันที่ศาลนัด 2 สัปดาห์ที่ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น
โดยชำระผ่านระบบ Teller Payment (กยศ. code : 9067) (กรอ. code : 92707)
02.ส่งหลักฐานการชำระหนี้ปิดบัญชี พร้อมแจ้งชื่อและเบอร์ติดต่อกลับ ดังนี้
1. ใบเสร็จการชำระหนี้ปิดบัญชี กยศ. หรือ กรอ.
2. ใบเสร็จการชำระค่าทนายความ
“ผู้กู้ กยศ.” ส่งให้แก่ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด
Fax: 0 2261 3811 โทรศัพท์ 0 2261 3739 ต่อ 8778
“ผู้กู้ กรอ.” ส่งให้แก่ ฝ่ายคดีและบังคับคดี กยศ. ระบุ “ขอให้ถอนฟ้อง กรอ. หรือผู้กู้ยืมกลุ่มไกล่เกลี่ย”
Fax: 0 2016 4940 โทรศัพท์ 0 2016 4888 ต่อ 550 – 587
กรณีที่ 2 ผู้กู้ยืมที่ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อถอนฟ้องได้ ผู้กู้และผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องไปศาล
01.เจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในชั้นศาล กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไปตามที่ศาลนัดหมาย สามารถขอผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 9 ปี
02.กรณีที่ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันไม่ไปตามที่ศาลนัด "ศาลจะสั่งพิพากษาชำระหนี้ทั้งจำนวน"
โดยจะส่งคำบังคับแจ้งให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นใน 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งศาล
วิธีการนับระยะเวลาปลอดหนี้หลังจบการศึกษาหรือเลิกการศึกษา ตัวอย่างเช่น ผู้กู้ยืมเรียนปีสุดท้ายปีการศึกษา 2563 ซึ่งจบการศึกษาช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 จะมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ดังนั้น ผู้กู้ยืมจะครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกในปี 2566 (5 กรกฎาคม 2566)
- รายละเอียดเพิ่มเติม ...คลิก