คำถามที่พบบ่อย
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานได้จะต้องแจ้งเรื่องขอระงับการเรียกให้ชำระหนี้ที่ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยผู้กู้ยืมต้องแนบหลักฐาน ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการที่ไม่หมดอายุ
- ใบรับรองแพทย์ที่เป็นปัจจุบัน โดยให้แพทย์บรรยายรายละเอียดของความพิการที่เป็นอยู่โดยโรงพยาบาล และไม่เกิน 90 วัน (ใช้ฉบับ จริง)
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืม
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ค้ำประกันทุกคน
- สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน กยศ./กรอ. (ถ้ามี)
-
หนังสือรับรองความสามารถประกอบการงานของผู้พิการ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่รับรองความสามารถฯ
โดยกองทุนฯ จะได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ เพื่อทำการระงับการเรียกให้ชำระหนี้ต่อไป
กองทุนกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการโอนเงินกู้ยืม ดังต่อไปนี้
*กรณีผู้กู้ยืมเงิน /สถานศึกษา ไม่ได้รับเงินให้ติดต่อธนาคาร
ผู้กู้ยืมเงินสามารถขอรับเงินคืนในกรณีหน่วยงานต้นสังกัดหักเงินเดือนเกินได้ ตามรายละเอียดที่ระบุในแบบขอรับเงินคืน ในส่วนที่ชำระเกินจากหน่วยงานต้นสังกัดหักเงินเดือน
กองทุนจะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ ส่งไปถึงผู้กู้ยืม 1 ครั้ง ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก โดยจะส่งไปยังที่อยู่เดิมตามภูมิลำเนาของผู้กู้ยืม หรือตามที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์
กรณีที่ลืมรหัสผ่านให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ชุดรหัสผ่าน e-Filing ให้ติดต่อกรมสรรพากรผ่านช่องทาง RD Intelligence Center 1161
2. ชุดรหัสผ่าน e-PaySLF ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของกองทุน เพื่อขอให้ตรวจสอบ Username หรือ Reset PIN Code เพื่อใช้ในการเข้าใช้งาน ผ่านช่องทางการติดต่อขององค์กรนายจ้าง
เบอร์โทรศัพท์ 02 080 5099
หรือไลน์บัญชีทางการ กยศ.องค์กรนายจ้าง
การเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียนก่อน กองทุนฯ ถือเป็นการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ทั้งนี้ อาจจะเป็นปัญหาให้กับนักเรียน นักศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการจึงมีหนังสือขอความร่วมมือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังสถานศึกษาในสังกัดแล้ว
- ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่จบปริญญาตรี แต่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมส่งหลักฐานการศึกษาว่าผู้กู้ยืมมีการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่มีการเลิกศึกษา และแจ้งให้กองทุนและบมจ.ธนาคารกรุงไทยทราบเพื่อปรับปรุงข้อมูลออกจากกลุ่มผู้ถูกดำเนินคดี
-
ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่จบปริญญาตรี แต่ได้รับหมายศาล ให้ผู้กู้ยืมส่งหลักฐานการศึกษาว่าผู้กู้ยืมมีการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่มีการเลิกศึกษา และแจ้งให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทราบเพื่อถอนฟ้อง
ผู้กู้ยืมจะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อให้กองทุน และ/หรือ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สามารถดำเนินการได้ทัน มิให้พ้นกำหนดระยะเวลาในหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม / พ้นกำหนดที่ศาลนัด
หน่วยงาน (นายจ้าง) สามารถดำเนินการโอนย้ายผู้กู้ยืมเงินไปยังสาขาที่ผู้กู้ยืมเงินสังกัดอยู่ผ่านระบบ e-PaySLF เพื่อหักและนำส่งเงินกู้ยืมคืนกองทุน
หน่วยงาน (นายจ้าง) ดำเนินการดังต่อไปนี้
กรณีหน่วยงาน (นายจ้าง) ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (ภ.อ.01) ของกรมสรรพากร
ให้ดำเนินการขอสมัครใช้บริการยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (ภ.อ.01) ของกรมสรรพากร (e-Filing)
คลิก https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/register
โดยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนในคู่มือการใช้งานระบบรับชำระเงินกู้ยืมฯ e-PaySLF
คลิก https://www.studentloan.or.th/sites/default/files/files/highlight/e-PayS...
การเข้าใช้งานระบบรับชำระเงินกู้ยืมฯ e-PaySLF แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1) หน่วยงาน (นายจ้าง) ใหม่ที่เข้าใช้งานครั้งแรกจะต้องทำการยืนยันการเข้าใช้งานผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร และการเข้าใช้งานในครั้งถัดไป ให้เข้าใช้งานด้วยรหัสของระบบ e-PaySLF เท่านั้น
2) หน่วยงาน (นายจ้าง) เดิม ที่มีข้อมูลการใช้งานของระบบ e-PaySLF เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าใช้งานด้วยรหัสของระบบ e-PaySLF ดังนี้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของหน่วยงาน
- Username ที่ระบุไว้เมื่อครั้งที่สร้างข้อมูลผู้ใช้งาน
- PIN Code รหัสผ่านที่เข้าใช้งานในปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 มาตรา 51 วรรคสี่ กำหนดว่า ถ้าผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวรรคหนึ่งไม่ได้หักเงินได้พึงประเมิน หักและไม่ได้นำส่งหรือนำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ หรือหักและนำส่งเกินระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินรับผิดชดใช้เงินที่จะต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบและต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนเงินที่ยังขาดไปแล้วแต่กรณี
หน่วยงาน (นายจ้าง) จะต้องนำชุดชำระเงิน (Pay in Slip) ที่ได้จัดพิมพ์จากระบบ e-PaySLF ใบล่าสุดไปชำระเงินเท่านั้น มิฉะนั้นจะส่งผลต่อการพิมพ์ใบรับเงินและการลดหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน
ให้ดำเนินการเข้าสู่ระบบ e-PaySLF และจัดพิมพ์ชุดชำระเงิน (Pay in Slip) ใหม่อีกครั้งผ่าน Browser Google Chrome เนื่องจากระบบ e-PaySLF ใช้งานได้ดีที่สุดบน Browser Google Chrome
หน่วยงาน (นายจ้าง) สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมการใช้งานระบบ e-PaySLF ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 080 5099
หรืออีเมล [email protected]
หน่วยงาน (นายจ้าง) สามารถแจ้งรายชื่อพนักงานหรือลูกจ้างที่ต้องเข้าสู่ระบบการหักเงินเดือนให้กองทุนตรวจสอบและดำเนินการแจ้งหักเงินเดือนผู้กู้ยืมเงินผ่านองค์กรนายจ้าง โดยแจ้งผ่านช่องทางการติดต่อขององค์กรนายจ้าง เบอร์โทรศัพท์ 02-0805099 ไลน์บัญชีทางการ กยศ.องค์กรนายจ้าง หรืออีเมล [email protected]
หน่วยงาน (นายจ้าง) สามารถทำการแยกสาขาผ่านระบบ e-PaySLF เพื่อความสะดวกในการหักและนำส่งเงินกู้ยืมคืนกองทุนเป็นรายสาขาได้